ศูนย์วิทยุร่วมด้วยช่วยกันพระราม2

ให้การช่วยเหลือประชาชน สังคม และประเทศชาติ.ศูนย์วิทยุร่วมด้วยช่วยกันพระราม 2 ทำหน้าที่ประสานงานช่วยเหลือประชาชนเพื่อนร่วมชาติ สังคม และประเทศชาติ ผ่านทางวิทยุ cb245 CH54 ศูนย์วิทยุในเครือสถานีวิทยุ FM 99.5 MHz สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน หากประชนพลเมืองดีท่านใด ได้รับความเดือดร้อนใกล้เคียงพื้นที่ โทรสายด่วนที่หมายเลข 028920358 ตลอด 24 ชั่วโมง หรือโทร 1677,1678 สายด่วนร่วมด้วยช่วยกัน dtac โทรฟรีทั่วประเทศ ขณะนี้ทางศูนย์เปิดรับสมาชิกอาสาสมัครประสานเหตุ และสมาชิกอาสาสมัครฝ่ายข่าว จำนวนมาก ท่านที่มีความประสงค์ที่จะร่วมอุดมการณ์ในการ ช่วยเหลือประชาชน ประชาสัมพันธ์ ที่หมายเลข 028920358 เวลา 12.00-24.00 น. ได้ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการประมวลภาพเหตุการณ์ต่างๆ

ว.8 ประกาศ*ด่วน* การอบรมกู้ชีพ (ศูนย์เอราวัณ)

เนื่องด้วยทางโรงพยาบาลกลางฯ ได้เปิดรับผู้ที่สนใจและต้องการรับการอบรมกู้ชีพ(ศูนย์เอราวัณ)
โดยให้ติดต่อรับและกรอกใบสมัครด้วยตนเองที่โรงพยาบาลกลาง อาคารอนุสรณ์
ห้องกู้ชีพชั้นล่างพร้อมนำเอกสารประกอบใบสมัครดังนี้

1.รูปถ่ายย้อนหลังไม่เกิน6เดือน 1 นิ้ว จำนวน2 รูป
2.สำเนาบัตรประชาชนจำนวน 1 ฉบับ
3.สำเนาทะเบียนบ้านจำนวน 1 ฉบับ

"อบรมเดือนกุมภาพันธ์" วันที่จะแจ้งให้ทราบอีกครั้ง
ติดต่อสอบเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 02-2216141 ต่อ 10191 (คุณอนัส)
*หมายเหตุ ติดต่อรับใบสมัครก่อนวันที่ 27 พฤศจิกายน 2552 ถ้าท่านได้ไม่สะดวกที่จะสมัครด้วยตนเองให้ ว.15 ที่ฐานพระราม 2. ติดต่อ พระราม2-04
เบอร์โทร 02-892 0358.

ป้ายทะเบียนตัวหนังสือสีดำ, สีเขียว, สีฟ้า

กฎกระทรวง พ.ศ. 2547 กำหนดลักษณะ ขนาด และสีของแผ่นป้ายทะเบียนรถ ดังนี้
1. รถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัด รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคน รถยนต์รับจ้างสามล้อ รถยนต์สี่ล้อเล็กรับจ้าง และรถจักรยานยนต์รับจ้างรถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัด ได้แก่ รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคน ที่ใช้รับจ้างระหว่างจังหวัด โดยรับส่งคนโดยสารได้เฉพาะที่นายทะเบียนกำหนด- พื้นแผ่นป้ายเป็นสีเหลืองสะท้อนแสง- ตัวอักษร หมายเลขทะเบียน และขอบแผ่นป้ายเป็นสีแดง สำหรับรถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัดสีดำ สำหรับรถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคน และรถจักรยานยนต์สีเขียว สำหรับรถยนต์รับจ้างสามล้อสีน้ำเงิน สำหรับรถยนต์สี่ล้อเล็กรับจ้าง2. รถยนต์บริการธุรกิจ รถยนต์บริการทัศนาจร รถยนต์บริการให้เช่ารถยนต์บริการธุรกิจ เช่น รถที่ใช้ขนคนในสนามบิน ท่าเรือ สถานีขนส่ง หรือสถานีรถไฟ และรถโรงแรมรถยนต์บริการทัศนาจร เช่น รถนำเที่ยวของบริษัททัวร์ โดยรถพวกนี้- พื้นแผ่นป้ายเป็นสีเขียวสะท้อนแสง- ตัวอักษร หมายเลขทะเบียน และขอบแผ่นป้ายเป็นสีขาว
3. รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล รถยนต์สามล้อส่วนบุคคล และรถจักรยานยนต์รถส่วนตัว ไม่ว่าจะเป็นเก๋ง รถตู้ รถกระบะ มอไซค์ รถ MPV หรือรถ SUV โดย- พื้นแผ่นป้ายเป็นสีขาวสะท้อนแสง- ตัวอักษร หมายเลขทะเบียน และขอบแผ่นป้ายเป็นสีดำ สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินเจ็ดคน และรถจักรยานยนต์สีน้ำเงิน สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคนสีเขียว สำหรับรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลสีแดง สำหรับรถยนต์สามล้อส่วนบุคคลหมายเหตุ จะมีแผ่นป้ายทะเบียนชนิดพิเศษ พวกเลขสวย โดยจะเป็นป้ายที่ออกให้ประมูล ซึ่งจะมีสีของพื้นแผ่นป้ายทะเบียน หมายเลขทะเบียน และตัวอักษรต่างไปจากแผ่นป้ายทะเบียนปกติ และแต่ละจังหวัด สีของพื้นแผ่นป้ายทะเบียนก็จะไม่เหมือนกัน ทั้งนี้ตามประกาศของกรมการขนส่งทางบก (ยกเว้นรถสามล้อส่วนบุคคล และรถจักรยานยนต์ ไม่มีป้ายพิเศษนี้)
4. รถพ่วง รถบดถนน รถแทรกเตอร์ และรถใช้งานเกษตรกรรม- พื้นแผ่นป้ายเป็นสีส้มสะท้อนแสง- ตัวอักษร หมายเลข และขอบป้ายเป็นสีดำ
5. รถยนต์ของบุคคลในคณะผู้แทนทางการทูต และรถจักรยานยนต์ของคณะผู้แทนทางการทูตรถทูต ลักษณะป้ายจะขึ้นต้นด้วยตัวอักษร ท ตามด้วยรหัสประเทศ ขีด แล้วก็เลขทะเบียน ตัวอย่างเช่น รถทูตญี่ปุ่นก็จะเป็น ท44 - 9999- พื้นแผ่นป้ายเป็นสีขาว (สังเกตว่าไม่มีคำว่า สะท้อนแสง)- ตัวอักษร ตัวเลข และขีดเป็นสีดำ
6. รถยนต์ของบุคคลในหน่วยงานพิเศษของสถานทูต ในคณะผู้แทนทางกงสุล ในองค์การระหว่างประเทศ หรือทบวงการชำนัญพิเศษแห่งสหประชาชาติ ซึ่งประจำอยู่ในประเทศไทย และรถจักรยานยนต์ของบุคคลข้างต้นลักษณะป้ายก็เหมือนรถทูต แต่ต่างกันตรงที่ รถในหน่วยงานพิเศษของสถานทูตจะใช้ตัวอักษร พ ส่วนรถกงสุลจะใช้ตัวอักษร ก ส่วนรถของสหประชาชาติ หรือองค์การระหว่างประเทศต่าง ๆ ในไทย จะใช้ตัวอักษร อ และ- พื้นแผ่นป้ายเป็นสีฟ้า ( สังเกตว่าไม่มีคำว่า สะท้อนแสง )- ตัวอักษร ตัวเลข และขีดเป็นสีขาวความต้องการของคุณน่าจะเป็นป้ายทะเบียนสีน้ำเงิน ตามข้อ1 สำหรับรถยนต์สี่ล้อเล็กรับจ้าง หรือข้อ 3 สีน้ำเงิน สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคน หรือ เปล่า แต่ถ้าเป็นป้ายทะเบียนสีฟ้า ในข้อ 6 จะเป็นรถยนต์ของบุคคลในหน่วยงานพิเศษของสถานทูต จะได้รับสิทธิพิเศษมากมาย ไม่น่าจะโดนปรับ.....

วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

Q S O อย่างไร ไม่ ดี ?

เรียกขาน-ตอบรับ
HS**** อยู่ม้าย ? – XYZ อยู่ม้าย ? – HS**** - XYZ ???

ตอบ ตอบ ตอบ !!! - ผู้ใดตอบ ??? – ก๊อปไม้ก๊อป ??? - ปี้ยะป่าว ???

CQ CQ CQ ??? - ตอบ CQ – ผู้ใดตอบ CQ ?? – ก็ผู้ใด CQ ล่ะ ??

แถ็ก แถ็ก แถ็ก – เชิญ – ผู้ใดรับแถ็ก ?? เบก เบกคับเบก – เชิญสิบล้อเบก !! }

การติดต่อสื่อสารทางวิทยุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกิจการวิทยุสมัครเล่น การแสดงตน (STATION IDENTIFICATION) คือ การขานสัญญาณเรียกขาน (CALL SIGN) ซึ่งนอกจากเป็นกติกาสากลแล้วยังถือว่าเป็นมรรยาทที่ดีอีกด้วย

ในการ QSO ไม่จำเป็นต้องทวนสัญญาณเรียกขานกันทุกประโยค ระเบียบสากล ITU ระบุว่าอย่างน้อยที่สุด ต้องขาน CALL SIGN (เพื่อเป็นการแสดงตน) ไม่น้อยกว่าหนึ่งครั้งภายในช่วงเวลา 10 นาที

การขานสัญญาณเรียกขาน (CALL SIGN) ไม่ต้องกลัวว่าคนอื่นเขาจะฟังออก ขานช้าๆ ชัดๆ โดยเฉพาะตอนเรียกขานกันครั้งแรกๆ ควรขานเป็น PHONETIC ALPHABET จะได้ไม่สับสนว่า เป็นตัว F Foxtrot, H Hotel, S Sierra หรือ X X-Ray เป็นต้น

ROGER

{โรเจอร์เลย – ท่านโลเจอร์อาคาร xxx ไหม ? – ผมก็ไม่โลเจอร์เลย ไม่รู้ซีว่าอยู่ตรงไหน !

ทำไมท่านจึงโลเจ้อร์ชื่อจริงผมล่ะ ? – อ๋อ ผมโลเจ้อร์ชื่อท่านแล้วละ แต่ยังไม่โลเจ้อร์หน้าท่านเลย }

คำว่า “ ROGER (ร๊อด์เจ้อร์)” นั้นมิได้แปลว่า ทราบ หรือ รู้ หรือ รู้จัก ความหมายของคำนี้ เป็นในลักษณะว่า “รับทราบ เชิงรับปฏิบัติ” ลำบากนัก (แต่มันเท่ห์?) ก็อย่าไปใช้มันเลยดีกว่า ภาษาไทยธรรมด๊า ธรรมดา ก็ไพเราะดีอยู่แล้ว เข้าใจง่ายดีด้วย

QRD – QTR –X – X-RAY – HOME – DRIVE MOBILE

{ QTR นี้ ผมกำลังจะได๊ว์โมบาย QRD ไป HOME ท่าน ท่านอย่าเพิ่ง QRD ไปไหนนะ ให้ QRX ผมที่ HOME ก่อนนะ ผมคงจะใช้ QTR ไม่น่าเท่าไรหรอก อ้อ ! แล้วช่วยบอก X ของท่านให้เตรียมขนมอร่อยๆ ไว้เผื่อ X-RAY ของผมด้วย ลืมบอกไปว่า X-RAY เขาเผอิญมี QTR ว่างเว้น เขาเลยขอตามมาด้วย เขาอยากจะมา โลเจ้อร์ X ของท่านบ้าง เพราะเคยแต่ได้ยินเสียงเขา Q มาเป็น QTR นานแล้ว เสียโอดีโอเขาเพราดี เลยอยากจะมาโลเจอร์ หน้าเขาบ้าง }

Q CODE หรือ Q SIGNAL เขามีไว้เพื่อย่นย่อข้อความในการติดต่อสื่อสารในระบบ CW (CONTINUOUS WAVE) หรือ วิทยุโทรเลข (RADIO TELEGRAPHY) คือ การรับ-ส่ง โดยการเคาะรหัสมอร์ส (MORSE) ส่วนการติดต่อสื่อสารในระบบวิทยุโทรศัพท์ (RADIO TELEPHONY) นั้น คือ การใช้เสียงพูดไปผสมกับคลื่นวิทยุพาหะ และ เมื่อไปถึงผู้รับก็จะถูกถอดออกมาเป็นเสียงคำพูดอีก จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้รหัสย่อ หรือ Q CODE หรือ Q SIGNAL นักวิทยุสมัครเล่นสากลจะต้องผ่านการสอบ รับ-ส่ง วิทยุโทรเลขขึ้นพื้นฐานที่อัตราความเร็วต่ำๆ ก่อน ถึงแม้ว่าเราจะไม่ได้ติดต่อในระบบวิทยุโทรเลขก็ตาม Q CODE พื้นฐานง่ายๆประมาณ 10 กว่าตัวก็ควรที่จะต้องทราบ

QRD นั้นเป็น MARITIME Q CODE ใช้ในการเดินเรือ แปลตรงๆ ตัวว่า “ท่านกำลังมุ่งหน้าไปยังท่า(เรือ)ใด ? และท่านออกเดินทางมาจากท่า(เรือ)ใด?” นักวิทยุสมัครเล่นระดับนานาชาติเล่นมาร่วม 50 ปีแล้วบอกว่ายังไม่เคยรู้เลยว่า QRD นี้คืออะไร เพิ่งมาได้ยินเกร่อไปหมดที่เมืองไทยนี่เอง { QRD ถึงไหนแล้ว? QRD เลี้ยวซ้าย QRD เลี้ยวขวา } ฟังแล้วมันให้น่ากลุ้ม !

QTR ใช่ “เวลา” ก็หาไม่ จริงแล้วไซร้คือ เขาอยากรู้ว่ากี่โมงแล้ว พูดให้ง่ายก็ขอเทียบเวลานั่นเอง ทำไมจึงชอบเอาคำเดียวมาใช้แทนความหมายของทั้งประโยคก็ไม่ทราบ

QSL มิได้แปลว่า “ยืนยันว่าข้อความที่พูดมานั้นถูกต้อง” ถ้าในลักษณะของคำถามก็คือ “ท่านสามารถยืนยันไหมว่า ท่านรับข้อความได้ทั้งหมด” ในลักษณะคำตอบก็คือ “ข้าพเจ้ายืนยันว่าข้าพเจ้ารับข้อความได้ทั้งหมด” นี่ก็อีกตัวอย่างหนึ่งที่เอาคำเดียวมาใช้แต่ความหมายไม่ตรงกัน




Q S O อย่างไร ไม่ ดี ภาค2
***********

เรียกขาน-ตอบรับ

{ ตามญาติหน่อย – มาอึ้ยัง ? – มาแล้ว – เป็นไง ? ฟูลไม๋ ? – อะลายกัน ไปจนสุดตัวแล้วยังไม่ฟูลอีกเหลอ ? – สงสัยพาวเวอร์ซัพพลาย ๓๐ แอมป์ไม่พอ ! – เป็นไง ? ตอนนี้ได้ซัพพลายใหม่มาแล้ว ๕๐ แอมป์ QRP หมดตัวแล้ว บื่อไม๋ คีย์เปล่า ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ เป็นไง ?}

ภารกิจ

{ แถ็ก คับ แถ็ก – เชิญแถ็ก – ขอทราบ QRK หน่อย เพิ่งภารกิจเสาอากาศมา ! – ขณะนี้ผมมาภารกิจอักษรอยู่ใน กทม. – ตอนนี้ขอ QRX ก่อน เดี๋ยวจะต้องไปภารกิจข้าวต้มแล้ว – ท่านไปภารกิจเจ้าเครื่องโมบายนี่มาตั้งแต่เมื่อไหร่ ทำไมผมไม่ยักกะโลเจ้อร์เลย ! }

“ภารกิจ” พจนานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติ พ.ศ. ๒๕๓๐ แปลไว้ว่า “งานที่จำต้องทำ” แต่ภาษาวิทยุวิบัติของไทยๆ เรา แปลว่า ซื้อ ก็ได้ แปลว่า ขโมย ก็ได้ แปลว่า จัดทำ ก็ได้ แปลว่า ขอเขามา ก็ ได้ แปลว่า รับประทาน ก็ได้ ฯลฯ ช่างอเนกประสงค์ดีจริง !

“ภารกิจอักษร” ขอร้องอย่าได้นำมาใช้เลย เดี๋ยวจะเข้าข่ายล้อเลียน “ราชาศัพท์” กำลังเรียนหนังสือ หรือ กำลังศึกษา ก็ว่าไปไม่เห็นว่าจะเชยตรงไหน ? (แต่ไม่เท่ห์)

เสาชัก-เสาสไล้ด์

ครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีคนจิตไม่ปกติขึ้นความถี่มาเที่ยวบอกนักวิทยุสมัครเล่นไทยว่าคำว่า “ชัก” นั้น เป็นคำสัปดน-ไม่สุภาพ ฉะนั้น ห้ามใช้เรียกสายอากาศว่า “เสาชัก” ให้เรียกเสียใหม่ว่า “เสาสไล้ด์ หรือ เสาเทเลสโคปิค”

“ชัก” พจนานุกรมฯ แปลไว้ว่า “ดึงให้เคลื่อนไหวตามต้องการ; ดึง; นำ; เอาออก; สี; กระตุก; เหนี่ยว; กล้ามเนื้อกระตุกอย่างกะทันหันและรุนแรง” ดูแล้วก็ไม่พบว่ามีคำไหนที่ส่อไปในทางสัปดน หรือไม่สุภาพ ภาษาไทยของเราดีๆ อยู่แล้ว เรื่องอะไรจะต้องไปดัดจริตไปใช้ภาษาอื่นคำว่า “SLIDE” ภาษาอังกฤษแปลว่า “เลื่อน” หรือ ลื่นไถล หรือ ลื่น เช่นไม้ลื่นที่ให้เด็กเล่น” เป็นต้น ฉะนั้นอย่าไปเชื่อคนจิตทรามที่คิดสัปดนไปเองเลย เรียก “เสาชัก” รับรองว่าไม่ผิดและไม่ติดตารางแน่ๆ เลิก “สไล้ด์” กันเสียทีเถิด จักขอบคุณยิ่ง

“เสาสไล้ด์ ๘ ท่อน, ๙ ท่อน, ๑๐ ท่อน ฯลฯ” มันไม่มีความหมายใดๆ ทั้งสิ้นในแง่ของยักวิทยุสมัครเล่นถ้าจะบอกชนิดของสายอากาศ ว่าเป็น๑/๔ แลมด้า, HALF WAVE, ๕/๘ หรือ ๗/๘ แลมด้า นั่นแหละจึงจะเข้าท่า เพราะว่าจำนวนท่อนนั้นก็ไม่รู้ว่าท่อนละ ๓ เซนติเมตร หรือ ๑๐ ซม.

ทราบเลย !

{ ทราบเล้ย ! ผมก็ไม่ทราบซีว่าร้านที่ท่านถามน่ำมันอยู่ที่ไหน? }

จะสังเกตุว่า ขึ้นต้นของทุกประโยคจะต้องเริ่มด้วยคำว่า “ทราบเลย” โดยที่ตัวเองไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ พอจะทราบที่มาของคำนี้ว่าพัฒนามาจาก “ว.๒ – ว.๘” ไหนๆ ก็เข้ามาเป็นนักวิทยุสมัครเล่นอย่างถูกต้องเต็มตัวแล้ว พยายามลืม “ว.ถ.” ให้หมดสิ้นซากสีเถิด

Q R M

{จะกดหาอะไรวะ ? – สงสัยญาติเสีย – บรรพบุรุษมันไม่เดือดร้อนบ้างหรือไง ? – บิดามารดามันคงไม่ได้สั่งได้สอนมา – ของผมผ่านไม๊ ? – เครื่องกระจอกๆ อย่างนี้อย่ามากดให้เสียเวลาเปล่าๆ แน่จริงกดยาวๆ อีกหน่อยซี – แน่จริงออกมาเจอกันเลย }

เคยบอกแล้วว่า นักวิทยุประกอบขึ้นด้วยคนทุกประเภท ประเภท “โรคจิต” ก็มีรวมอยู่ด้วย วิธีตอบโต้กับ QRM ที่ดีที่สุดก็คือวิธี “วางเฉย” ไม่โต้ตอบใดๆทั้งสิ้นไม่ต้องไปเอ่ยถึง ทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ QSO ได้ก็ QSO ถ้าไม่ได้ก็หยุด ถ้าไปเอ่ยถึงก็เป็นการยืนยันว่าเขาแกล้งได้ผล ยิ่งเขาทำให้ท่านหัวเสียได้เท่าใด ก็เป็นความสนุกของเขาเท่านั้น มนุษย์โรคจิตเหล่านี้เขาจะสนุกของเขาถ้าเขาทำงานได้ผล

เพราะเขาอยู่ใน”ที่มืด” แต่เราเองอยู่ในที่สว่าง หากเราหลงกลไปตอบโต้เขาด้วยวาจาที่ไม่เหมาะสม เราเองยิ่งเป็นฝ่ายเสียหนักขึ้นไปอีก ก็ยิ่งสนุกเขาใหญ่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น