ศูนย์วิทยุร่วมด้วยช่วยกันพระราม2

ให้การช่วยเหลือประชาชน สังคม และประเทศชาติ.ศูนย์วิทยุร่วมด้วยช่วยกันพระราม 2 ทำหน้าที่ประสานงานช่วยเหลือประชาชนเพื่อนร่วมชาติ สังคม และประเทศชาติ ผ่านทางวิทยุ cb245 CH54 ศูนย์วิทยุในเครือสถานีวิทยุ FM 99.5 MHz สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน หากประชนพลเมืองดีท่านใด ได้รับความเดือดร้อนใกล้เคียงพื้นที่ โทรสายด่วนที่หมายเลข 028920358 ตลอด 24 ชั่วโมง หรือโทร 1677,1678 สายด่วนร่วมด้วยช่วยกัน dtac โทรฟรีทั่วประเทศ ขณะนี้ทางศูนย์เปิดรับสมาชิกอาสาสมัครประสานเหตุ และสมาชิกอาสาสมัครฝ่ายข่าว จำนวนมาก ท่านที่มีความประสงค์ที่จะร่วมอุดมการณ์ในการ ช่วยเหลือประชาชน ประชาสัมพันธ์ ที่หมายเลข 028920358 เวลา 12.00-24.00 น. ได้ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการประมวลภาพเหตุการณ์ต่างๆ

ว.8 ประกาศ*ด่วน* การอบรมกู้ชีพ (ศูนย์เอราวัณ)

เนื่องด้วยทางโรงพยาบาลกลางฯ ได้เปิดรับผู้ที่สนใจและต้องการรับการอบรมกู้ชีพ(ศูนย์เอราวัณ)
โดยให้ติดต่อรับและกรอกใบสมัครด้วยตนเองที่โรงพยาบาลกลาง อาคารอนุสรณ์
ห้องกู้ชีพชั้นล่างพร้อมนำเอกสารประกอบใบสมัครดังนี้

1.รูปถ่ายย้อนหลังไม่เกิน6เดือน 1 นิ้ว จำนวน2 รูป
2.สำเนาบัตรประชาชนจำนวน 1 ฉบับ
3.สำเนาทะเบียนบ้านจำนวน 1 ฉบับ

"อบรมเดือนกุมภาพันธ์" วันที่จะแจ้งให้ทราบอีกครั้ง
ติดต่อสอบเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 02-2216141 ต่อ 10191 (คุณอนัส)
*หมายเหตุ ติดต่อรับใบสมัครก่อนวันที่ 27 พฤศจิกายน 2552 ถ้าท่านได้ไม่สะดวกที่จะสมัครด้วยตนเองให้ ว.15 ที่ฐานพระราม 2. ติดต่อ พระราม2-04
เบอร์โทร 02-892 0358.

ป้ายทะเบียนตัวหนังสือสีดำ, สีเขียว, สีฟ้า

กฎกระทรวง พ.ศ. 2547 กำหนดลักษณะ ขนาด และสีของแผ่นป้ายทะเบียนรถ ดังนี้
1. รถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัด รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคน รถยนต์รับจ้างสามล้อ รถยนต์สี่ล้อเล็กรับจ้าง และรถจักรยานยนต์รับจ้างรถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัด ได้แก่ รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคน ที่ใช้รับจ้างระหว่างจังหวัด โดยรับส่งคนโดยสารได้เฉพาะที่นายทะเบียนกำหนด- พื้นแผ่นป้ายเป็นสีเหลืองสะท้อนแสง- ตัวอักษร หมายเลขทะเบียน และขอบแผ่นป้ายเป็นสีแดง สำหรับรถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัดสีดำ สำหรับรถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคน และรถจักรยานยนต์สีเขียว สำหรับรถยนต์รับจ้างสามล้อสีน้ำเงิน สำหรับรถยนต์สี่ล้อเล็กรับจ้าง2. รถยนต์บริการธุรกิจ รถยนต์บริการทัศนาจร รถยนต์บริการให้เช่ารถยนต์บริการธุรกิจ เช่น รถที่ใช้ขนคนในสนามบิน ท่าเรือ สถานีขนส่ง หรือสถานีรถไฟ และรถโรงแรมรถยนต์บริการทัศนาจร เช่น รถนำเที่ยวของบริษัททัวร์ โดยรถพวกนี้- พื้นแผ่นป้ายเป็นสีเขียวสะท้อนแสง- ตัวอักษร หมายเลขทะเบียน และขอบแผ่นป้ายเป็นสีขาว
3. รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล รถยนต์สามล้อส่วนบุคคล และรถจักรยานยนต์รถส่วนตัว ไม่ว่าจะเป็นเก๋ง รถตู้ รถกระบะ มอไซค์ รถ MPV หรือรถ SUV โดย- พื้นแผ่นป้ายเป็นสีขาวสะท้อนแสง- ตัวอักษร หมายเลขทะเบียน และขอบแผ่นป้ายเป็นสีดำ สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินเจ็ดคน และรถจักรยานยนต์สีน้ำเงิน สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคนสีเขียว สำหรับรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลสีแดง สำหรับรถยนต์สามล้อส่วนบุคคลหมายเหตุ จะมีแผ่นป้ายทะเบียนชนิดพิเศษ พวกเลขสวย โดยจะเป็นป้ายที่ออกให้ประมูล ซึ่งจะมีสีของพื้นแผ่นป้ายทะเบียน หมายเลขทะเบียน และตัวอักษรต่างไปจากแผ่นป้ายทะเบียนปกติ และแต่ละจังหวัด สีของพื้นแผ่นป้ายทะเบียนก็จะไม่เหมือนกัน ทั้งนี้ตามประกาศของกรมการขนส่งทางบก (ยกเว้นรถสามล้อส่วนบุคคล และรถจักรยานยนต์ ไม่มีป้ายพิเศษนี้)
4. รถพ่วง รถบดถนน รถแทรกเตอร์ และรถใช้งานเกษตรกรรม- พื้นแผ่นป้ายเป็นสีส้มสะท้อนแสง- ตัวอักษร หมายเลข และขอบป้ายเป็นสีดำ
5. รถยนต์ของบุคคลในคณะผู้แทนทางการทูต และรถจักรยานยนต์ของคณะผู้แทนทางการทูตรถทูต ลักษณะป้ายจะขึ้นต้นด้วยตัวอักษร ท ตามด้วยรหัสประเทศ ขีด แล้วก็เลขทะเบียน ตัวอย่างเช่น รถทูตญี่ปุ่นก็จะเป็น ท44 - 9999- พื้นแผ่นป้ายเป็นสีขาว (สังเกตว่าไม่มีคำว่า สะท้อนแสง)- ตัวอักษร ตัวเลข และขีดเป็นสีดำ
6. รถยนต์ของบุคคลในหน่วยงานพิเศษของสถานทูต ในคณะผู้แทนทางกงสุล ในองค์การระหว่างประเทศ หรือทบวงการชำนัญพิเศษแห่งสหประชาชาติ ซึ่งประจำอยู่ในประเทศไทย และรถจักรยานยนต์ของบุคคลข้างต้นลักษณะป้ายก็เหมือนรถทูต แต่ต่างกันตรงที่ รถในหน่วยงานพิเศษของสถานทูตจะใช้ตัวอักษร พ ส่วนรถกงสุลจะใช้ตัวอักษร ก ส่วนรถของสหประชาชาติ หรือองค์การระหว่างประเทศต่าง ๆ ในไทย จะใช้ตัวอักษร อ และ- พื้นแผ่นป้ายเป็นสีฟ้า ( สังเกตว่าไม่มีคำว่า สะท้อนแสง )- ตัวอักษร ตัวเลข และขีดเป็นสีขาวความต้องการของคุณน่าจะเป็นป้ายทะเบียนสีน้ำเงิน ตามข้อ1 สำหรับรถยนต์สี่ล้อเล็กรับจ้าง หรือข้อ 3 สีน้ำเงิน สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคน หรือ เปล่า แต่ถ้าเป็นป้ายทะเบียนสีฟ้า ในข้อ 6 จะเป็นรถยนต์ของบุคคลในหน่วยงานพิเศษของสถานทูต จะได้รับสิทธิพิเศษมากมาย ไม่น่าจะโดนปรับ.....

วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

QSO อย่างไรดี

1. ฟังให้มาก หากตั้งใจ คัดเลือกไว้ แต่ส่วนดี อย่าให้มี เสียงกวนใด ในสถานี เล็ดลอดไป กับความถี่ ตรวจสอบ ให้แน่ดีก่อนกดคีย์ ออกอากาศไป
2. กะจังหวะ จะเรียกขาน คาดการณ์ว่า คู่สถานี ที่เรียกหา พร้อมจะมา QSO
3. เรียกช่วงสั้น คั่นช่องว่าง เพื่อฟังตอบ ชัดถ้อยคำ ไม่ช้าเร็ว จนเกินไป เรียกสั้นๆ สามครั้งดี กว่าเรียกยาว เพียงครั้งเดียว
4. กดคีย์แน่น แล้วจึงพูด ปากชิดไมค์ ไม่ตะโกน ก็เพราะดี
5. จดสัญญาณ เรียกขานเพื่อน ไม่เลอะเลือน และเวียนมา น่าเบื่อหน่าย
6. พูดอะไร ให้ติดต่อ ใจจดจ่อ ไม่สับสน
7. พูดสบายๆ คล้ายธรรมชาติ QSO ไม่เสแสร้ง แกล้งเป็นงาน มีรสชาติ ปราศจาก เรื่องส่วนตัว และโอ้อวด QSO ที่เหมาะสม ถูกกาละ และเทศะ คือทักษะ การสื่อสาร เพื่อนย่อมเห็น เป็นพยาน ว่าสถานี มีมาตรฐาน
8. ก่อนเรียกขาน ปรับสัญญาณ จนเสียงซู่ เพื่อตรวจดู ว่าผู้ใด ใช้ความถี่ อยู่หรือเปล่า ฟังสักพัก หากให้แน่ แค่สอบถาม “มีท่านใด ใช้ความถี่ นี้อยู่ไหม? จาก H2 (E2)…” สักสองรอบ หากไม่มี เสียงใดตอบ ก็ชอบที่ ว่าความถี่ ที่ข้าฯ ถาม นี้ว่างอยู่
9. เมื่อตอบรับ ต้องชัดเจน อย่าพิเรน “ต๊อบ-ต๊อบ-ต๊อบ” ฟังไพเราะ เสนาะหูกว่า หากตอบว่า “HS… ตอบ E2…ครับ (ค่ะ)
10. “ก” กำลังเรียก “ข” ; “ข” ยังไม่ทันตอบ “ก” ; “ก” ยังไม่ทัน CLEAR ; ไม่สมควรที่ “ค” จะรีบเรียก “ก” เขาไป จะรีบร้อนอะไรกัน เช่นนั้นหนา รอให้ “ก” แจ้งร่ำลา (CLEAR หรือ STAND BY) ก่อนแล้วจึง เรียกก็ได้ เขาคงไม่ ปิด (เครื่อง) ทันใด ให้ตายซี
11. จะขอเข้า ร่วมสนทนา อย่าลืมว่า นามเรียกขาน น้ำสำคัญ มิฉะนั้น คงไม่ตอบ ไม่รู้สอบ มาหรือเปล่า “แถ็ก คับ แถ็ก” กับ “เบค คับ เบค” อย่าดีกว่า ฟังแล้วว่า ไม่เข้าท่า เอาเสียเลย
12. จงอย่าเป็น “เสือปืนไว” เว้นช่องไว้ สองสามวิ สีเพื่อนฝูง ขอช่วยเหลือ จะเอื้อเฟื้อ ได้สักที
13. สมัครเล่น ที่เป็นแล้ว QRK 4-5 ก็ว่าแจ๋ว สุดแสนเบื่อ เมื่อ FULL SCALE ตลอดกาล อย่าให้ใคร เข้าเฝ้าว่า “พ่อปากกว้าง แต่หูตึง”
14. คำฟุ่มเฟือย ไร้ความหมาย พยายามเลิกใช้ จะดีกว่า “OK” นั้น มันเท่ห์ไฉน ใช้ให้เกร่อ แถม “โลเจ้อ คับ โลเจ้อ” “XYL” เขาใช้กัน ทั่วโลกา มาเมืองไทย ไหงเป็น “X” หรือไม่ก็ “X-RAY” “ผมขับรถ” พูดไม่โก้ จำต้องโว “DRIVE MOBILE” QRD เลี้ยวซ้าย QRDตรงไป QRD เลี้ยวขวา ฝรั่งเขาเล่น กันมาทั่ว ต้องมากลัว ทั่วเมืองไทย QRD จริงแล้วไซร้ ใช้เดินเรือ บอกไม่เชื่อ MARITINE Q-CODE คือถามว่า “ท่านมุ่งหน้า ไปท่า(เรือ)ใด และท่านออกมา จากท่า(เรือ)ไหน? QTR ใช่เวลา ก็หาไม่ QTR ไม่ว่างเว้น สุดเข็ญใจ คำว่า “บ้าน” ภาษาไทย ไหงไม่ใช้ คำว่า “รถ” อดไม่ได้ ต้อง MOBILE มันน่าอาย หรืออย่างไร ถ้าพูดไทย
15. การค้า การเมือง เรื่องศาสนา อย่านำมา QSO หาเรื่องโม้ มีถมไป
16. ความลับนี้ ว่าไม่มี ในอากาศ จงอย่าพลาด ไม่เดียงสา เผลอโอภา ภาษารัก หากจะพลอด ปลอดภัยกว่า ทาง LAND LINE

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น