ศูนย์วิทยุร่วมด้วยช่วยกันพระราม2

ให้การช่วยเหลือประชาชน สังคม และประเทศชาติ.ศูนย์วิทยุร่วมด้วยช่วยกันพระราม 2 ทำหน้าที่ประสานงานช่วยเหลือประชาชนเพื่อนร่วมชาติ สังคม และประเทศชาติ ผ่านทางวิทยุ cb245 CH54 ศูนย์วิทยุในเครือสถานีวิทยุ FM 99.5 MHz สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน หากประชนพลเมืองดีท่านใด ได้รับความเดือดร้อนใกล้เคียงพื้นที่ โทรสายด่วนที่หมายเลข 028920358 ตลอด 24 ชั่วโมง หรือโทร 1677,1678 สายด่วนร่วมด้วยช่วยกัน dtac โทรฟรีทั่วประเทศ ขณะนี้ทางศูนย์เปิดรับสมาชิกอาสาสมัครประสานเหตุ และสมาชิกอาสาสมัครฝ่ายข่าว จำนวนมาก ท่านที่มีความประสงค์ที่จะร่วมอุดมการณ์ในการ ช่วยเหลือประชาชน ประชาสัมพันธ์ ที่หมายเลข 028920358 เวลา 12.00-24.00 น. ได้ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการประมวลภาพเหตุการณ์ต่างๆ

ว.8 ประกาศ*ด่วน* การอบรมกู้ชีพ (ศูนย์เอราวัณ)

เนื่องด้วยทางโรงพยาบาลกลางฯ ได้เปิดรับผู้ที่สนใจและต้องการรับการอบรมกู้ชีพ(ศูนย์เอราวัณ)
โดยให้ติดต่อรับและกรอกใบสมัครด้วยตนเองที่โรงพยาบาลกลาง อาคารอนุสรณ์
ห้องกู้ชีพชั้นล่างพร้อมนำเอกสารประกอบใบสมัครดังนี้

1.รูปถ่ายย้อนหลังไม่เกิน6เดือน 1 นิ้ว จำนวน2 รูป
2.สำเนาบัตรประชาชนจำนวน 1 ฉบับ
3.สำเนาทะเบียนบ้านจำนวน 1 ฉบับ

"อบรมเดือนกุมภาพันธ์" วันที่จะแจ้งให้ทราบอีกครั้ง
ติดต่อสอบเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 02-2216141 ต่อ 10191 (คุณอนัส)
*หมายเหตุ ติดต่อรับใบสมัครก่อนวันที่ 27 พฤศจิกายน 2552 ถ้าท่านได้ไม่สะดวกที่จะสมัครด้วยตนเองให้ ว.15 ที่ฐานพระราม 2. ติดต่อ พระราม2-04
เบอร์โทร 02-892 0358.

ป้ายทะเบียนตัวหนังสือสีดำ, สีเขียว, สีฟ้า

กฎกระทรวง พ.ศ. 2547 กำหนดลักษณะ ขนาด และสีของแผ่นป้ายทะเบียนรถ ดังนี้
1. รถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัด รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคน รถยนต์รับจ้างสามล้อ รถยนต์สี่ล้อเล็กรับจ้าง และรถจักรยานยนต์รับจ้างรถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัด ได้แก่ รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคน ที่ใช้รับจ้างระหว่างจังหวัด โดยรับส่งคนโดยสารได้เฉพาะที่นายทะเบียนกำหนด- พื้นแผ่นป้ายเป็นสีเหลืองสะท้อนแสง- ตัวอักษร หมายเลขทะเบียน และขอบแผ่นป้ายเป็นสีแดง สำหรับรถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัดสีดำ สำหรับรถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคน และรถจักรยานยนต์สีเขียว สำหรับรถยนต์รับจ้างสามล้อสีน้ำเงิน สำหรับรถยนต์สี่ล้อเล็กรับจ้าง2. รถยนต์บริการธุรกิจ รถยนต์บริการทัศนาจร รถยนต์บริการให้เช่ารถยนต์บริการธุรกิจ เช่น รถที่ใช้ขนคนในสนามบิน ท่าเรือ สถานีขนส่ง หรือสถานีรถไฟ และรถโรงแรมรถยนต์บริการทัศนาจร เช่น รถนำเที่ยวของบริษัททัวร์ โดยรถพวกนี้- พื้นแผ่นป้ายเป็นสีเขียวสะท้อนแสง- ตัวอักษร หมายเลขทะเบียน และขอบแผ่นป้ายเป็นสีขาว
3. รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล รถยนต์สามล้อส่วนบุคคล และรถจักรยานยนต์รถส่วนตัว ไม่ว่าจะเป็นเก๋ง รถตู้ รถกระบะ มอไซค์ รถ MPV หรือรถ SUV โดย- พื้นแผ่นป้ายเป็นสีขาวสะท้อนแสง- ตัวอักษร หมายเลขทะเบียน และขอบแผ่นป้ายเป็นสีดำ สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินเจ็ดคน และรถจักรยานยนต์สีน้ำเงิน สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคนสีเขียว สำหรับรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลสีแดง สำหรับรถยนต์สามล้อส่วนบุคคลหมายเหตุ จะมีแผ่นป้ายทะเบียนชนิดพิเศษ พวกเลขสวย โดยจะเป็นป้ายที่ออกให้ประมูล ซึ่งจะมีสีของพื้นแผ่นป้ายทะเบียน หมายเลขทะเบียน และตัวอักษรต่างไปจากแผ่นป้ายทะเบียนปกติ และแต่ละจังหวัด สีของพื้นแผ่นป้ายทะเบียนก็จะไม่เหมือนกัน ทั้งนี้ตามประกาศของกรมการขนส่งทางบก (ยกเว้นรถสามล้อส่วนบุคคล และรถจักรยานยนต์ ไม่มีป้ายพิเศษนี้)
4. รถพ่วง รถบดถนน รถแทรกเตอร์ และรถใช้งานเกษตรกรรม- พื้นแผ่นป้ายเป็นสีส้มสะท้อนแสง- ตัวอักษร หมายเลข และขอบป้ายเป็นสีดำ
5. รถยนต์ของบุคคลในคณะผู้แทนทางการทูต และรถจักรยานยนต์ของคณะผู้แทนทางการทูตรถทูต ลักษณะป้ายจะขึ้นต้นด้วยตัวอักษร ท ตามด้วยรหัสประเทศ ขีด แล้วก็เลขทะเบียน ตัวอย่างเช่น รถทูตญี่ปุ่นก็จะเป็น ท44 - 9999- พื้นแผ่นป้ายเป็นสีขาว (สังเกตว่าไม่มีคำว่า สะท้อนแสง)- ตัวอักษร ตัวเลข และขีดเป็นสีดำ
6. รถยนต์ของบุคคลในหน่วยงานพิเศษของสถานทูต ในคณะผู้แทนทางกงสุล ในองค์การระหว่างประเทศ หรือทบวงการชำนัญพิเศษแห่งสหประชาชาติ ซึ่งประจำอยู่ในประเทศไทย และรถจักรยานยนต์ของบุคคลข้างต้นลักษณะป้ายก็เหมือนรถทูต แต่ต่างกันตรงที่ รถในหน่วยงานพิเศษของสถานทูตจะใช้ตัวอักษร พ ส่วนรถกงสุลจะใช้ตัวอักษร ก ส่วนรถของสหประชาชาติ หรือองค์การระหว่างประเทศต่าง ๆ ในไทย จะใช้ตัวอักษร อ และ- พื้นแผ่นป้ายเป็นสีฟ้า ( สังเกตว่าไม่มีคำว่า สะท้อนแสง )- ตัวอักษร ตัวเลข และขีดเป็นสีขาวความต้องการของคุณน่าจะเป็นป้ายทะเบียนสีน้ำเงิน ตามข้อ1 สำหรับรถยนต์สี่ล้อเล็กรับจ้าง หรือข้อ 3 สีน้ำเงิน สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคน หรือ เปล่า แต่ถ้าเป็นป้ายทะเบียนสีฟ้า ในข้อ 6 จะเป็นรถยนต์ของบุคคลในหน่วยงานพิเศษของสถานทูต จะได้รับสิทธิพิเศษมากมาย ไม่น่าจะโดนปรับ.....

วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ภาษาประหลาดๆ ที่ไม่น่าเอามาใช้ในการ QSO

“ภารกิจที่เหลือด้วยความราบรื่น ร่ำรวย ๆ สุขภาพแข็งแรง อายุมั่นขวัญยืน ฯ ล ฯ”

ภาษาวิทยุ คำว่า “๗๓ หรือ ๘๘” ซึ่งแปลว่า “ด้วยความปรารถนาดี” มีความหมายสมบูรณ์ด ีเพียงพอแล้วสำหรับการล่ำลาเมื่อจบการสนทนา คำฟุ่มเฟือยไม่เป็นที่นิยมในภาษาวิทยุ

“มีคอนแถ็กแน่ะ เชิญท่านรับคอนแถ็กหน่อย”

ก็มันเรื่องอะไรล่ะ คอนแถ็กคับคอนแถ็ก ใครจะคอนแถ็กใครก็ไม่ทราบ อยากจะรับก็เชิญรับไปซี เรื่องอะไรจะต้องเที่ยวมาเชิญให้คนอื่นเขารับคอนแถ็กด้วยล่ะ !


“ม้อดลงเต็มจอเลย”

INTER-MODULATION คือ การผสมกันของความถี่ RF หลายๆ ความถี่ ตั้งแต่สองความถี่เป็นต้นไป ในหลายๆ รูปแบบ ทำให้เกิดความถี่ผลลัพธ์ออกมา ซึ่งบังเอิญมาตรงกับความถี่ใช้งานของเราจึงจะก่อให้เกิดการรบกวนขึ้น ไม่ใช่ว่าอะไรๆ ก็เป็น “ม้อด” ไปหมด

“ผู้ใดทำคีย์ค้าง ตรวจสอบด้วย เดี๋ยวเครื่องพัง”

โธ่ ! ก็คีย์เขาค้างอยู่ ให้อัดไปสัก ๕๐๐ วัตต์ จ้างเขาก็ไม่ได้ยิน รอให้หลุดก่อนจึงแจ้งก็ได้


“ S ไม่เกิด ขึ้นแค่บูซี่”

S Meter ไม่ขึ้น หรือ ไม่แสดงผล พูดแล้วมันไม่เท่ห์หรือไง ?
BUSY ภาษาฝรั่งมังค่าภาษานี้แปลก TO=ทู GO=โก FOR=ฟอร์ FOUR=ฟอร์ TOUR=ทัวร์ BUSY=บิซี่ BUSINESS=บิซเนส DUTY=ดิวตี้ FUR=เฟอร์ PURR=เพอร์ PER=เพอร์ BLUR=บเลอร์ ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่ภาษา บิดา-มารดา ของเราก็ตาม แต่ถ้าเราจะไปใช้ของเขาก็พยายามสักนิดเผื่อเขาจะได้ฟังออกบ้าง ผิดบ้าง ถูกบ้าง ไม่ว่ากัน แต่ถ้ารู้ว่าผิดแล้วแก้ไข นี่ซีที่น่านับถือ

“ขออนุญาตใช้ความถี่หน่อย ขอเรียกสักสามคีย์ "
“ขออนุญาตใช้ความถี่หน่อย ขอเรียกสักสามคีย์ E20XYZ/E20ZYX E20XYZ/E20ZYX E20XYZ/E20ZYX เรียกครั้งที่สาม ได้ยินม้าย ? ได้ยินแล้วตอบด้วย !!! ไม่ตอบ ๗๓ ขอบคุณที่ให้ใช้ความถี่”

เขาใช้ความถี่กันอยู่ ไม่ต้องฟังอีร้าค่าอีรม มาถึงก็ลุยเลย คู่สถานีเขากำลังเขากำลังมีข้อความต่อเนื่องกันอยู่หรือเปล่า ขออนุญาตใช้ความถี่หน่อยไม่ต้องปล่อยคีย์ ถือว่าขอแล้วมารยาทดีแล้ว ลุยเลย !

“วิดเดอะกุ๊ป ไทย-แม๊กซีกัน มีใครอยู่บ้าง?”

“with the group” ภาษาวิทยุสมัครเล่นมีความหมายว่า ในขณะที่กำลัง QSO อยู่นั้น มีเกินกว่า ๑ คู่สถานี เราเติมคำว่า “with the group” หลังการขาน CALL SIGN เพื่อให้คู่สถานีที่กำลังรอจังหวะที่จะเข้ามา QSO ด้วย อุ่นใจว่าเรายังไม่ลืมว่าเข้ายังรออยู่ในความถี่ มิได้มีความหมายว่าเป็นกลุ่ม-คณะ ชมรม หรือ แก๊ง-ก๊วน ใดๆ ทั้งสิ้น เคยได้ยินบ่นกันว่า “แถ็กเท่าไหร่ เขาก็ไม่รับแถ็ก เราไม่ใช่วิดเดอะกุ๊ปเขา เขาเลยไม่ยอมรับแถ็ก”

“ขอกราบประทานอภัย”

เพียงแค่ “ขออภัย” ก็เพียงพอแล้ว ภาษาที่สุภาพเกินเหตุ ใช่ว่าจะดีเสมอไปโดยเฉพาะคำว่า “ประทาน” ไม่ใช้สำหรับบุคคลทั่วไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น